ภาควิชาศาสนาและปรัชญา

 

เกี่ยวกับเรา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ ได้ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ ตั้งอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในครั้งแรกได้ทรงพระราชทานนามว่า “มหาธาตุวิทยาลัย”มหาธาตุวิทยาลัย เปิดสอนครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙  โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้ใช้เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎก และวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ได้จัดประชุมพระเถรานุเถระฝ่ายมหานิกาย   จำนวน ๕๗ รูป เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อดำเนินการจัดการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงระดับมหาวิทยาลัย เปิดสอนระดับปริญญาตรีครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ คณะแรกที่เปิดสอน คือ คณะพุทธศาสตร์

shape

แรกเริ่ม

01

ตลอดระยะเวลากว่า ๖๐ ปี ที่เปิดสอนระดับอุดมศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ผลิตบัณฑิตตามพันธกิจเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา และให้บริการวิชาการแก่สังคม จากการที่มหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อรับใช้สังคม ประเทศชาติและพระศาสนา รัฐบาลได้เสนอให้รัฐสภาตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๐ ให้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๐ และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยนี้ จึงมีชื่อตามกฎหมายว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” คณะพุทธศาสตร์ เป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เปิดการศึกษาเน้นหนักในด้านภาษาบาลี พระพุทธศาสนา ศาสนาและปรัชญา ในชั้นแรกแบ่งหลักสูตรออกเป็น ๔ ภาควิชา คือ :-
๑. ภาควิชาภาษาบาลี
๒. ภาควิชาพระพุทธศาสนา
๓. ภาควิชาศาสนาและปรัชญา
๔. ภาควิชาภารตวิทยา
ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ มีผู้สำเร็จปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) รุ่นแรก จำนวน ๔ รูป และอนุปริญญา (อนุ พธ.บ.) จำนวน ๒ รูป

พัฒนา

02

คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แบ่งการศึกษาออกเป็น ๓ ภาควิชา  มี  ๗ สาขาวิชาเอก และ ๒ สาขาวิชาโท ดังต่อไปนี้ :-
        ๑. ภาควิชาพระพุทธศาสนา
        –    สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
        –    สาขาวิชาพระอภิธรรม
        –    สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
        –    วิชาโทโบราณคดี
        –    บัณฑิตศึกษา หลักสูตรพุทธศาสนามหาบัณฑิต  สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
        ๒. ภาควิชาศาสนาและปรัชญา
        –    สาขาวิชาศาสนา
        –    สาขาวิชาปรัชญา
        –    สาขาวิชาปรัชญา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
        –    บัณฑิตศึกษา หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
        ๓. ภาควิชาบาลีและสันสกฤต
        –    สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
        –    สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์
        –    สาขาวิชาภาษาบาลี
        –    สาขาวิชาบาลีสันสกฤต
        –    วิชาโทภาษาฮินดี
        –    หลักสูตรประกาศนียบัตรภาษาบาลี

ปัจจุบัน

03

ภาควิชาศาสนาและปรัชญา     
           -พุทธศาสตรบัณฑิต
             – สาขาวิชาศาสนา  (บรรพชิต)
             – สาขาวิชาศาสนา  (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
             – สาขาวิชาปรัชญา
             – สาขาวิชาปรัชญา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
          -พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
             – สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ (บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโท)
          -พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
            – สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ (บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก)

0 +
Students Enrolled
0 +
Courses Uploaded
0 +
People Certifie
0 +
Global Teachers

What Students Say

 

Feedback

I Enjoyed Every Lesson!

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipisicing elit sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore Lorem ipsum dolor sit amet.

James Smith

Apps Developer

Fantastic! Great instructor!

I recommend these courses to everyone, and wish you, guys, luck with the new studies! Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipisicing.

Monica Blews

UX Designer

Fantastic! Great instructor!

I am grateful for your wonderful course! Your tutors are the best, and I am completely satisfied with the level of professional teaching.

Eleanor Baker

CFO Apple Corp